วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย เรื่องที่ 1

ผลการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 

ปริญญานิพนธ์

ของ

พรทิพย์   กันทาสม


สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

การศึกษาเรื่องผลการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของ
เด็กปฐมวัย ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้
กิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์และศึกษาผลการใช้เกมการศึกษาเพื่อ
การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ
นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดทำกาน อําเภอสันป่าตอง
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 4 จํานวน 6 คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก้
1. แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความพร้อมทาง
คณิตศาสตร์ในด้านการจับคู่การจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลําดับ จํานวน 20 แผน
แผนละ 20 นาที
2. เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ด้านการจับคู่การจัดประเภท
การเปรียบเทียบและการจัดลําดับจํานวน 20 เกม
3. แบบทดสอบหลังเรียนเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ด้านการจับคู่การจัด
ประเภทการเปรียบเทียบและการจัดลําดับจํานวน 20 ข้อ
4. แบบสังเกตพฤติกรรมการเล่นเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์
ด้านการจับคู่การจัดประเภทการเปรียบเทียบและการจัดลําดับจํานวน 20 ชุด
ผู้ศึกษาได้ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยนําแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรม
เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยไปจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนกับนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โดยดําเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยตนเองใน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ซึ่งได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นเวลาติดต่อกัน 20 วัน วันละ
1 แผน แผนละ 20 นาทีเป็นจํานวน 4 หน่วยและในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ผู้ศึกษาได้สังเกตพฤติกรรมการเล่นเกมการศึกษาของนักเรียนพร้อมกับบันทึกคะแนนพฤติกรรม
การเล่นเกมของนักเรียนทั้ง 5 ด้าน ไปพร้อม ๆกับการเล่นเกมของนักเรียน และหลังจากการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนครบทั้ง 20 แผน แล้วผู้ศึกษาได้ใช้แบบทดสอบวัดความพร้อมทาง


สรุปผลการวิจัย  

ผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ดังนี้
1. ได้แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความพร้อมทาง
คณิตศาสตร์ในด้านการจับคู่การจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลําดับ ของนักเรียนชั้น
อนุบาล 2 จํานวน 20 แผน และเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ในด้าน
การจับคู่การจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลําดับ ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 จํานวน 20
เกม ซึ่งเป็นแผนการจัดประสบการณ์และเกมการศึกษาที่มีคุณภาพสามารถนําไปใช้กับนักเรียนชั้น
อนุบาล 2 ได้อย่างเหมาะสม
2. ผลการใช้เกมการศึกษาเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์
2.1 คะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร้ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ในด้าน การจับคู่
การจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลําดับ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 93.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่
กําหนดไว้คือร้อยละ 70.00
2.2 พฤติกรรมการเล่นเกมการศึกษาของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ด้าน
ความสนใจและการมีส่วนร่วม ด้านการรูปจักการสังเกตและการแก้ปัญหาด้านการมีน้ําใจช่วยเหลือ
ผู้อื่น ด้านความสนุกสนานเพลิดเพลิน และด้านการเก็บเกมหลังเลิกเล่น มีพฤติกรรมอยู่ในระดับ

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2556
ครั้งที่ 14

การเรียนการสอน


          วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม ออกไปสอนหน่วยที่แต่ละกลุ่มคิดมา และแต่ละคนจะนำเสนอวันของตัวเอง ซึ่งถ้ากลุ่มไหนมีข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดอย่างไร อาจารย์ก็จะแนะนำเพื่อนำข้อบกพร่องนั้นๆไปปรับปรุงต่อไป ซึ่งกลุ่มแรกที่ออกไปนำเสนอคือ
  • หน่วย "ครอบครัวของฉัน" กลุ่มนี้อาจารย์บอกว่าเป็นกลุ่มตัวอย่างในการนำเสนอการสอน เพราะเป็นกลุ่มแรก โดยอาจารย์แนะนำเรื่องการใช้คำในการพูดต่างๆให้เหมาะสม การเตรียมตัว และสื่อในการสอนเด็ก
  • กลุ่มที่สองออกมานำเสนอในหน่วย "ผลไม้" ซึ่งอาจารย์ก็แนะนำเรื่องการใช้คำพูดเช่นเดียวกัน และ การเริ่มการสอนว่าควรเตรียมตัวอย่างไร มีวิธีการอย่างไร เพื่อจะทำให้เด็กสามารถเข้าใจได้ง่ายมากขึ้นค่ะ
          วันนี้นำเสนอได้แค่ 2 กลุ่ม เพราะเวลาหมดก่อน อาจารย์จึงให้กลุ่มต่อไปเตรียมตัวมานำเสนอในสัปดาห์ต่อไปค่ะ

วันพุธที่ 30 มกราคม 2556
ครั้งที่ 13

การเรียนการสอน


  • อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนช่วยกันคิด ว่าถ้าเอกการศึกษาปฐมวัยของเรา จะแสดงศักยภาพให้บุคคลอื่นๆได้เห็น เราจะแสดงหรือทำอะไรกันบ้าง โดยให้นักศึกษาทุกคนช่วยกันตอบ และคำตอบของนักศึกษาที่ช่วยกันคิด มีดังนี้
    • นิทานเวที
    • ละครเวที
    • เล่นดนตรี
    • ร้องเพลง
    • เล่นเกม
    • เล่านิทาน
    • รำ
    • เต้น
    • งานศิลปะ
    • จัดนิทรรศการสื่อ

  • จากนั้นให้ทุกคนช่วยกันคิดว่า การแสดงแต่ละอย่างนั้น การแสดงไหนบ้างที่ต้องใช้สื่อ และการแสดงไหนบ้างที่ไม่ต้องใช้สื่อ โดยสรุปได้ดังนี้
    • การแสดงที่ใช้สื่อ มีดังนี้
      • นิทานเวที
      • ละครเวที
      • เล่นดนตรี
      • งานศิลปะ
      • นิทรรศการสื่อ
    • การแสดงที่ไม่ต้องใช้สื่อ มีดังนี้
      • ร้องเพลง
      • เล่นเกม
      • เล่านิทาน
      • รำ
      • เต้น
วันพุธที่ 23 มกราคม 2556
ครั้งที่  12



อาจารย์ให้ทำงานกลุ่มที่สั่งไปในครั้งที่แล้ว ให้ทำแบ่งเป็นวัน5 วัน คือวันจันทร์-วันศุกร์ และนำเสนอคนละ 1วัน กลุ่มของดิฉันทำ "หน่วยโรงเรียน" จากนั้นให้วิเคราะห์ตามหัวข้อดังนี้
การเรียนการสอน


      • สาระการเรียนรู้
      • มาตรฐาน
      • กิจกรรม (เอาสั้นๆได้ใจความ ไม่ต้องเกริ่นนำ)
    • เมื่อวิเคราะห์เสร็จก็นำมาเขียนแผนการสอนทั้ง 5วัน
    • ทำแผนภูมิความคิดสรุปเนื้อหาหลักๆของหน่วยที่ตนเองทำ

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ 2556
ครั้งที่ 11


เนื่่องจากวันนี้เป็นวันครูแห่งชาติ  อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมฟังเทศน์  ธรรมะ ที่ห้องศูนย์ครู ณ อาคารศึกษาศาสตร์




วันพุธทีื 9 มกราคม พ.ศ 2556
ครั้งที่ 10

การเรียนการสอน


  • อาจารย์พูดถึงมาตรฐาน ตัวชี้วัด ตัวบ่งชี้ เป็นเรื่องของตัวเลขที่เป็นที่ยวอาจอมรับ คือ               มาตรฐาน = เกณฑ์ขั้นต่ำ
  • อาจารย์ให้ช่วยกันตอบว่า "เด็กจะเรียนรู้จำนวนจากอะไรบ้าง" เช่น การนับจำนวนนักเรียนที่มาเรียนทั้งหมดในห้อง, จำนวนอาคารในโรงเรียน
  • การทำที่ใส่ชื่อของนักเรียน โดยอาจยึดฐาน 10 เป็นหลัก แต่ถ้ามีนักเรียนน้อยอาจแบ่งเป็นแถวละ 5 และให้ช่วยกันคิดไอเดียต่างๆในการจัด 
    • มีเพื่อนคิดว่า ให้เรียงลำดับใครมาก่อนมาหลัง
  • เวลาบวก อย่าบวกให้ซับซ้อน แต่ให้บวกง่ายๆด้วยสายตาที่มองเห็น คือ นับไปเลยเรื่อยๆ แต่ขณะเดียวกันก็ยึดหลักฐาน 10เป็นฐาน แต่ถ้าในระดับอนุบาล 3 ค่อยๆให้เริ่มบวกซับซ้อนมากขึ้น แต่ละแถวจะต้องทำช่องรวมจำนวนนักเรียนที่มาเรียน และนำทุกแถวมาบวกกัน อาจทำช่องที่นักเรียนไม่มาเรียนไว้ข้างหลังช่องนักเรียนที่มาเรียนด้วย
  • การทำปฎิทิน อาจนำมาสอนเรื่องการนับ เช่น การเขียนวันที่, การใช้สัญลักษณ์, สภาพภูมิอากาศในแต่ละวันใส่ไปในปฎิทินก็ได้ แล้วอาจทำเป็นกราฟแสดงการเปรียบเทียบ อาจเอาแต่ละเดือนมาเปรียบเทียบกัน 
  • การวัด(ความสูง) เครื่องมือการวัดส่วนสูง ความสูงในแต่ละระดับอาจแทนด้วยรูปผลไม้ แล้วกำกับว่ามีขนาดกี่ ซม. แล้วทำกราฟเปรียบเทียบความสูงของแต่ละคน 

การบ้าน

          อาจารย์ให้จับกลุ่ม 5คน โดยให้สร้างหน่วย สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก หรือสิ่งที่อยู่ไกล้ตัวเด็กในชีวิตประจำวัน จากนั้นให้เขียนแผนมาทั้งหมด 5วัน โดยสร้างตามมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จากนั้นก็ทำแผนภูมิความคิดมาด้วยค่ะ

วันพุธที่ 2 มกราคม  พ.ศ 2556
ครั้งที่ 9


 * ไม่มีการเรียนการสอน   

                             อาจารย์ให้ส่งงานสื่อ ตามที่ได้มอบหมายไป ซึ่งเป็นงานคู่