วันพุธ ที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ 2555
ครั้งที่ 4
- อาจารย์ให้เซนชื่อคนที่ถ่ายเอกสารมาแล้ว
- อาจารย์ให้ส่งงานที่ทำเป็นกลุ่มครั้งที่แล้วด้วย
จากนั้นอาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ดังนี้
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษาควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะ (นิตยา ประพฤติกิจ .2541 :17-19) ดังต่อไปนี้
- การนับ (Couting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่นการนับ 1-10
- ตัวเลข (Number) เป็นการที่เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวันให้เด็กเล่นของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรมอาจมีการเปรียบเทียบ เช่น มากกว่า < ฯลฯ
- จับคู่ (Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
- การจัดประเภท (Classification) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ว่าความแตกต่างหรือเหมือนกันในบางเรื่องและสามารถจัดประเภทได้
- การเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า ฯลฯ
- การจัดลำดับ (Ordering) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุด ๆ หนึ่งตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น โดยการจักบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากัน
- รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space) นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่น
- การวัด (Measurement) มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
- เซต (Set) เป็นการสอนในเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้า ถือว่าเป็นหนึ่งเซต
- เศษส่วน (Fraution) ปกติแล้วการเรียนเศษส่วนมักจะเริ่มเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แต่ครูปฐมวัยสามารถสอนได้โดยส่วนรวม ให้เด็กเห็นก่อนลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เด็กข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่ง
การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบ ลวดลายและพัฒนาการจำแนกด้วยสายตา ให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) ช่วงวัย 5 ขวบขึ้นไป ครูอาจเริ่มสอบเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กลงมือปฏิบัติจริง จุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนี้ก็คือ ให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่าปริมาณของวัตถุ จะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายหรือทำให้รูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 : 87 - 88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
- การจัดกลุ่มหรือเซตสิ่งที่ควรสอน ได้แก่ จับคู่ 1:1
- จำนวน 1 - 10 การฝึกนับ 1 - 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
- ระบบจำนวน และชื่อของตัวเลข
- ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ
- คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม
- ลำดับที่ สำคัญ และประโยชน์คณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึง จำนวน ปริมาตร
- การวัด ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็น ของเหลว สิ่งของ เงินตรา เป็นต้น และมีเครื่องมือในการวัด
- รูปทรงเลขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบ รูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น รูปสิ่งของที่มีมิติต่าง ๆ จากการเล่นเกมและจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว
- สถิติและกราฟ ไก้แก่ การศึกษาจากการบันทึกทำแผนภูมิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น